วัดป่าถ้ำหีบ | สถานที่ท่องเที่ยว Archives | จำปาโมง.ไทย

วัดป่าถ้ำหีบ | สถานที่ท่องเที่ยว Archives | จำปาโมง.ไทย

[[{“value”:” วัดป่าถ้ำหีบ   วัดถ้ำหีบ ตั้งอยู่ บ้านนาอ่าง หมู่ที่ 2  ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ตามแนวเทือกเขา ป่าเขือน้ำ เป็นป่าโขดหินมีความสวยงามตามธรรมชาติ   วัดถ้ำหีบ เป็นวัดป่าสายกรรมฐาน มีความสงบร่มรื่น เหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยมีพระเกจิที่มีชื่อเสียงคือ หลวงปู่พงษ์  ธมฺมาภิรโต (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมะไว้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติธรรม ได้แก่ ถ้ำหีบ ภายในถ้ำมีวัตถุโบราณ จำพวกหีบสมบัติต่างๆ พระเจดีย์อนุสรณ์สถาน ธัมมาภิรตเจดีย์ เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม  ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ, พระธาตุหลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง และอัฐิธาตุ-อัฐบริขารของ หลวงปู่พงษ์ ธัมมาภิรโต ณ วัดป่าถ้ำหีบ…

วัดถ้ำจันทรคลาส | สถานที่ท่องเที่ยว Archives | จำปาโมง.ไทย

วัดถ้ำจันทรคลาส | สถานที่ท่องเที่ยว Archives | จำปาโมง.ไทย

[[{“value”:” วัดถ้ำจันทรคราส วัดถ้ำจันทรคราส ตั้งอยู่ บ้านนาอ่าง หมู่ที่ 2  ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ตามแนวเทือกเขาสูง ป่าเขือน้ำ เป็นป่าโขดหินมีความสวยงามตามธรรมชาติ   วัดถ้ำจันทรคราส ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนวนอุทยานภูผาแดงอำเภอบ้านผือ มีความสวยสงบร่มรื่น เหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ  เช่น ไม้เต็ง รัง เหียง พลวง ประดู่ เป็นต้น โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมะไว้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติธรรม ได้แก่ วิหารพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ภายในเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม (ไม้สักทอง) ประกอบด้วยพระพุทธรูป  5 พระองค์ พระมหาเจดีย์เฉลิมเกียรติ 88 พรรษา ภายในเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม…

วัดโคธาราม | สถานที่ท่องเที่ยว Archives | จำปาโมง.ไทย

วัดโคธาราม | สถานที่ท่องเที่ยว Archives | จำปาโมง.ไทย

[[{“value”:” วัดโคธาราม ประวัติหลวงพ่อฟ้าลั่น  วัดโคธาราม บ้านโนนสว่าง หมู่ 7 ตำบลจำปาโมง  อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ย้อนไปเมื่อ 479 ปี  บ้านเมืองพานในสมัยก่อนนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่งนามว่า  ลืมบอง หรือ ญาครูขี้หอม ท่านเกิดที่เมืองพานซึ่งในปัจจุบันคือ   บ้านกาลึม ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี     ท่านได้อุปสมบทที่เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว จากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่บ้านเกิด  ครั้งหนึ่งท่านได้ข้ามไปฝั่งลาว แล้วพักจำวัดในวัดแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชแห่งประเทศลาว  ในคืนนั้นสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงนิมิต(ฝัน) เห็นช้างเผือกได้เข้ามาในวัดแล้วทำลายตู้พระไตปิฎกเสียหายจนหมดสิ้น       เมื่อสมเด็จทรงตื่นก็ได้ทบทวนพิจารณาถึงนิมิตอันน่าอัศจรรย์ ก็ให้นึกถึงพระภิกษุที่มาจากฝั่งไทย สมเด็จท่านทรงเฝ้าดูพฤติกรรมพระภิกษุลึมบอง           จนในที่สุดไม่ปรากฏข้อปฏิบัติที่ไม่ดีเลย ท่านสำรวมใฝ่ศึกษาและปฏิบัติจนเป็นที่เคารพเลื่อมใสของหมู่พระสงฆ์และชาวบ้าน ท่านศึกษาอยู่ในประเทศลาวเป็นเวลานานจนได้รับการสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราชประเทศลาว ในปี  พุทธศักราช 2063 ท่านได้เสด็จกลับเมืองพาน ในบ้านลึมบองเมืองพานฯ…

วนอุทยานภูผาแดง | สถานที่ท่องเที่ยว Archives | จำปาโมง.ไทย

วนอุทยานภูผาแดง | สถานที่ท่องเที่ยว Archives | จำปาโมง.ไทย

[[{“value”:” วนอุทยานภูผาแดง ความเป็นมาของการจัดตั้งวนอุทยาน วนอุทยานภูผาแดง  เป็นหน่วยงานในสังกัดส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นอนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ทำการชั่วคราวตั้งอยู่ในท้องที่บ้านนาอ่าง หมู่ที่ 2 ตำบลจำปาโมง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวอำเภอบ้านผือประมาณ 20 กิโลเมตร ได้รับการประกาศจัดตั้งพื้นที่ให้เป็นวนอุทยานโดยอธิบดีกรมป่าไม้เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ให้คงอยู่ตามธรรมชาติและบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ทางด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวมทั้งพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ด้านนันทนาการและการพักผ่อนหย่อนใจไว้บริการประชาชน โดยมีมาตรการควบคุมดูแลรักษาพื้นที่ตามที่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมพื้นที่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขือน้ำ…

วัดโพธิ์ชัยศรี | แหล่งท่องเที่ยว Archives | บ้านผือ.ไทย

วัดโพธิ์ชัยศรี | แหล่งท่องเที่ยว Archives | บ้านผือ.ไทย

[[{“value”:” วัดโพธิ์ชัยศรี หรือวัดหลวงพ่อนาค ตั้งอยู่ที่บ้านแวง หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานี ประมาณ ๕๕ กิโลเมตร เป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่โบราณกาล เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อนาค เดิมมีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่เศษ ต่อมามีชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้บริจาคที่ดินให้ และบริจาคทุนทรัพย์ซื้อเพิ่มเติม จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ ๗๑ ไร่ ๑๔ ตารางวา มีท่านเจ้าคุณพระภาวนาวิมล(พระมหาอัมพร อโสโก) เป็นเจ้าอาวาส และดำรงตำแหน่งตำเจ้าคณะอำเภอบ้านผือ (มหานิกาย) วิทยฐานะ นักธรรมเอก เปรียญธรรม ๖ ประโยคและอภิธรรมบัณฑิต เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒๓ ภายในบริเวณวัดมีพระพุทธรูปปางนาคปรก มีนาค ๗ หัว…

เรือนแก้วพระอุปคุต | แหล่งท่องเที่ยว Archives | บ้านผือ.ไทย

เรือนแก้วพระอุปคุต | แหล่งท่องเที่ยว Archives | บ้านผือ.ไทย

[[{“value”:” เรือนแก้วพระอุปคุต พระอุปคุตเถระเป็นพระสาวกที่มีลักษณะเด่นทางฤทธานุภาพทำหน้าที่ฝ่ายกำราบอธรรม ท่านมีชีวิตช่วงเวลาเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราช บทบาทเด่นของท่านก็คือเป็นผู้รักษาพระบรมสารีกธาตุในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เรือนแก้วพระอุปคุตมีลักษณะทรง ๑๒ เหลี่ยม ซึ่งหมายถึงหลักธรรมคำสอนว่าด้วยกฏธรรมชาติแห่งชีวิต ๑๒ ประการ ขนาดความกว้างและความยาวเท่ากันคือ ๒๘ เมตร หมายถึงพระนามของพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์สูง ๓๗ เมตร หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการที่ให้ถึงตรัสรู้ ภาย ในบรรจุพระบรมสารีกธาตุซึ่งได้รับมาจากที่ต่าง ๆ เช่น ได้รับจากสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร , วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร , วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดกลาง จ.สุพรรณบุรี และได้รับจากประเทศศรีลังกา เป็นต้น ภายในยังมีภาพวาดฝาผนังบรรยายประวัติพระอุปคุตเถระ The…

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท | แหล่งท่องเที่ยว Archives | บ้านผือ.ไทย

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท | แหล่งท่องเที่ยว Archives | บ้านผือ.ไทย

[[{“value”:” อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีชื่อว่า “ป่าเขือน้ำ” บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กม. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการเวลา 08.00-16.30 น. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทแห่งนี้ ปรากฏร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 2,000 – 3,000 ปีมาแล้ว มีการพบภาพเขียนสีมากกว่า 30 แห่ง ยังพบการดัดแปลงโขดหินและเพิงผาธรรมชาติให้กลายเป็นศาสนสถานของผู้คนใน วัฒนธรรมทวารวดี ลพบุรี สืบต่อกันมาจนถึงวัฒนธรรมล้านช้าง ตามลำดับ ซึ่งร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของ มนุษย์ได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ทางกรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ ป่าสงวนจำนวน 3,430 ไร่ จากกรมป่าไม้…